Primary Color:
Primary Text:
Secondary Color:
Secondary Text:
Tertiary Color:
Tertiary Text:
Color Picker
Preview
FeaturesTypographyTutorials
Module Title
Home
Module Title

Lorem ipsum dolor sit amet, consectetuer adipiscing elit. Ut non turpis a nisi pretium rutrum. Nullam congue, lectus a aliquam pretium, sem urna tempus justo, malesuada consequat nunc diam vel justo. In faucibus elit at purus. Suspendisse dapibus lorem. Curabitur luctus mauris.

Module Title
Module Title
Instructions

Select a predefined style from via the drop-down or choose your own colors via the handy mooRainbow based color-chooser. When you are satisfied with your selection, click the "Apply Colors" button below to store your selection in a cookie.

Apply Colors
Color Chooser

Random Image

wink.gif
ผลงานวิจัย และ รางวัล PDF Print E-mail

ผลงานวิจัยต่างๆ ของบุคลากรในภาคจุลชีววิทยาจากอดีตจนถึงปัจจุบัน ได้แก่ งานวิจัยทางด้านพิสูจน์เชื้อจุลินทรีย์ ที่เป็นสาเหตุของโรคต่างๆ ในสัตว์   งานวิจัยทางด้านจุลินทรีย์ และที่ต้านสารต้านจุลชีพและยาปฏิชีวนะ งานวิจัยทางด้านการป้องกันโรคระบาดสัตว์ โดยการศึกษาการใช้วัคซีนและศึกษา วิทยาภูมิคุ้มกันที่เกิดขึ้น งานวิจัยทางด้านวิทยาภูมิคุ้มกัน โดยเน้นทางซีโรโลยี เพื่อทดสอบภูมิคุ้มโรคในสัตว์ งานวิจัยโรคในสัตว์ปีก สุกรและสัตว์อื่นๆ งานวิจัยทางด้านการพัฒนาชุดตรวจสอบยาต้านจุลชีพตกค้างในอาหารและผลิตภัณฑ์ อาหารจากสัตว์ และ งานวิจัยและพัฒนาด้านเทคโนโลยีชีวภาพต่อการเลี้ยงสัตว์ในระบบอุตสาหกรรม เป็นต้น และปัจจุบันภาควิชาฯ ยังมีการวิจัยเพิ่มเติมขึ้นอีก  ได้แก่การวิจัยทางด้านวิทยาภูมิคุ้มกัน โดยเน้นระดับเซลล์และโมเลกุล การวิจัยทางด้านการตรวจสอบประสิทธิภาพ และคุณภาพของวัคซีนที่ใช้ในสัตว์ต่างๆ การวิจัยในด้านเชื้อจุลินทรีย์ก่อโรคอาหารเป็นพิษที่ปนเปื้อนมากับอาหาร และ การพัฒนาผลิตภัณฑ์ชีวภาพเพื่อเป็นวัตถุปัจจัยในการเลี้ยงสัตว์และไม่กระทบ ต่อสิ่งแวดล้อม  เป็นต้น 

นอกจากการเรียนการสอนและการวิจัยแล้ว  งานบริการของภาควิชาฯก็มีจุดเด่นไม่ได้ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน ภาควิชาฯ  มีการให้บริการทางด้านวิชาการต่างๆ  และเป็นห้องปฏิบัติการที่สามารถใช้อ้างอิงในเชิงวิชาการได้ อันได้แก่  การให้ความรู้แก่เกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ต่างๆ ทั้งสัตว์ปีก สุกร โค และกระบือ ทางด้านการป้องกันโรค การหาสาเหตุของโรคที่เกิดขึ้น รวมถึงการใช้วัคซีนชนิดต่างๆ ซึ่งจะเอื้อประโยชน์ให้แก่เกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์เป็นอย่างมาก  การเป็นแหล่งข้อมูลทางด้านวิชาการของการศึกษาถึงสาเหตุของโรคติดเชื้อการ ป้องกันโรคระบาดโดยการใช้วัคซีนชนิดต่างๆ  คุณภาพของวัคซีนที่ใช้ในประเทศไทย  และมีการจัดอบรมสัมมนาและร่วมเป็นวิทยากรในการอบรมสัมมนาในด้านจุลชีววิทยา แก่เจ้าหน้าที่ในหน่วยงานต่างๆ ที่สนใจทางด้านจุลชีววิทยารวมทั้งเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์  การอบรมดังกล่าวได้แก่

  1. การสัมมนา  เรื่อง “สารพิษและเชื้อรา : ผลกระทบต่อสุขภาพสัตว์”  ในการประชุมวิชาการในวาระ 80 ปี
    แห่งการสถาปนาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วันที่ 13-14  มีนาคม 2540
  2. การสัมมนาระดับชาติเพื่อกำหนดแนวทางการแก้ไขปัญหา Non-Typhoidal Salmonellosis ในประเทศไทย
    ครั้งที่ 1 วันที่ 15-16 มกราคม  2541
  3. การจัดสัมมนา เรื่อง  “สถานภาพของโรคไก่และการจัดการ”  วันที่  22-24 เมษายน 2541
  4. การสัมมนาระดับชาติเพื่อกำหนดแนวทางการแก้ไขปัญหา Non-Typhoidal  Salmonellosis ในประเทศไทย
    ครั้งที่ 2 วันที่  24-25 ธันวาคม 2541
  5. International Training Course : Surveillance of Salmonellosis and Antimicrobial Resistance inSalmonella
    วันที่ 22-27 พฤศจิกายน 2542
  6. การสัมมนา Update PRRS วันที่ 6 มกราคม 2548 จัดโดย  สมาคมสัตวแพทย์ควบคุมฟาร์มสุกรไทย
    ร่วมกับภาควิชาจุลชีววิทยา คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วันศุกร์ที่  6 มกราคม 2549 ณ โรงแรมปทุมวันปริ๊นเซส

ผลงานที่เป็นที่ยอมรับและเชิดชูเกียรติแก่ภาควิชา ฯ มีทั้งผลิตภัณฑ์ชีวภาพจากผลงานวิจัยและพัฒนาของอาจารย์ในภาควิชา ฯ และรางวัลผลงานวิจัยระดับชาติ   ได้แก่

  1. ชุดตรวจสอบยาต้านจุลชีพ ตกค้างในน้ำนม ได้รับการจดสิทธิบัตร จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แหล่งเงินทุนสนับสนุน คือ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว)  โดย รองศาสตราจารย์ น.สพ.ดร.เกรียงศักดิ์  สายธนู และ รองศาสตราจารย์ น.สพ.ดร.ธงชัย  เฉลิมชัยกิจ
  2. ชุดตรวจสอบยาต้านจุลชีพตกค้างในเนื้อ สัตว์  และผลิตภัณฑ์จากสัตว์   ได้รับการจดสิทธิบัตร จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แหล่งเงินทุนสนับสนุน คือ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว)  โดย รองศาสตราจารย์ น.สพ.ดร. ธงชัย  เฉลิมชัยกิจ และคณะ
  3. จุลินทรีย์ควบคุมคุณภาพของน้ำในบ่อเลี้ยงกุ้งกุลาดำ  โดย รศ.น.สพ. เกรียงศักดิ์ พูนสุข และคณะ
  4. รางวัล ผลงานวิจัยดีมาก ประจำปี 2548  จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  แหล่งเงินทุน คือ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดย รศ. สพ.ญ.ดร.สันนิภา สุรทัตต์
  5. รางวัลชมเชย ผลงานวิจัยแบบแผ่นภาพ สาขาความสมบูรณ์พันธุ์  สุขภาพ และการจัดการในสัตว์เศรษฐกิจ  เรื่อง ความชุกของเชื้อ เอสเชอริเชีย โคไล  ที่มียีนที่เกี่ยวข้องกับการก่อโรคในสุกรหลังหย่านม การประชุมวิชาการทางสัตวแพทย์และการเลี้ยงสัตว์ ครั้งที่ 31, 2-4 พฤศจิกายน 2548 โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ น.สพ.ดร.ณุวีร์  ประภัสระกูล และคณะ
  6. รางวัล ผลงานวิจัยดีเยี่ยม ประจำปี 2549  สภาวิจัยแห่งชาติ  เรื่อง  ไข้หวัดนกในประเทศไทย  โดย รองศาสตราจารย์ สพ.ญ.ดร.สันนิภา  สุรทัตต์

2012

ผลงานวิจัยและรางวัล แยกตามชื่ออาจารย์แต่ละท่าน
Last Updated on Friday, 30 May 2014 07:58
 
RocketTheme Joomla Templates